ความรู้พื้นฐานพืชกับแร่ธาตุ

        พืชที่ยังคงความสดอยู่จะมีปริมาณน้ำประกอบอยู่ 80-95% ถ้าเราเก็บต้นพืชมาชั่งจะได้น้ำหนักสด วางทั้งไว้พืชจะเหี่ยวลง เนื่องจากสูญเสียน้ำอยู่ตลอดเวลา และถ้านำไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 - 48 ชั่วโมง น้ำส่วนใหญ่ที่อยู่ในต้นพืชจะระเหยไป เมื่อนำไปชั่งอีกครั้งเพื่อหาน้ำหนักแห้งจะพบว่าพบว่าพืชมีน้ำหนักลงลงอย่างมากเหลือเพียง 10-20% ของน้ำหนักสดที่ชั่งครั้งแรก ยกตัวอย่าง เก็บผักคึ่นฉ่ายมา 1 ต้น สมมุติว่าชั่วได้น้ำหนักสด 100 กรัม แต่เมื่อนำไปอบให้แห้งแล้วชั่งใหม่จะเหลือน้ำหนักแห้งเพียง 10 กรัม เป็นต้น น้ำหนักแห้งที่ได้นี้มากกว่า 90% ประกอบด้วยแร่ธาตุ 3 ชนิด คือ คาร์บอน(C) ออกซิเจน(O) และไฮโดรเจน(H) ซึ่งได้มาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ก๊าซออกซิเจน(O2) ในบรรยากาศและน้ำ(H2O) ส่วนที่เหลือเป็นแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ ที่ประกอบเป็นต้นพืช จากตัวอย่างคึ่นฉ่ายจะพบว่ามีธาตุอื่น ๆ เพียง 1% ของน้ำหนักสด หรือเท่ากับ 1 กรัม ? ตารางที่ 1. แสดงชนิดของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

ตารางที่ 1

 

Element
Symbol
Availble
Form
Atomic
Weight
PPM
Concentration in
Dry Tissue
%
Relative No. of
Atoms compared
to Molybdenum
Hydrogen
H
H2O
1.01
60,000
6
60,000,000
Carbon
C
CO2
12.01
450,000
45
35,000,000
Oxygen
O
O2,H2O
16.00
450,000
45
30,000,000
Macronutrients
Nitrogen
N
NO3-,NH4+
14.01
15,000
1.5
1,000,000
Potassium
K
K+
39.10
10,000
1.0
250,000
Calcium
Ca
Ca++
40.08
5,000
0.5
125,000
Magnesium
Mg
Mg++
24.32
2,000
0.2
80,000
Phosphorus
P
H2PO4-,HPO4=
30.98
2,000
0.2
60,000
Sulfur
S
SO4=
32.07
1,000
0.1
30,000
Micronutrients
Chlorine
Cl
Cl-
35.46
100
0.01
3,000
Boron
B
BO3-,B4O7-
10.82
20
0.002
2,000
Iron
Fe
Fe+++,Fe++
55.85
100
0.01
2,000
Manganese
Mn
Mn++
54.94
50
0.005
1,000
Zinc
Zn
Zn++
65.38
20
0.002
300
Copper
Cu
Cu++,Cu+
63.54
6
0.0006
100
Molybdenum
Mo
MoO4-
95.95
0.1
0.00001
1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     

 

 

 

 

 

 

 

 

        พืชจะเจริญเติบโตได้ดีต้องได้รับปัจจัยต่าง ๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ ได้มาจากดิน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากบรรยากาศใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ก๊าซออกซิเจน ได้จากบรรยากาศและช่องว่างในดิน ใช้ในกระบวนการหายใจ และแสงได้จากดวงอาทิตย์
      
ในกระบวนการสังเคราะห์แสงพืชสีเขียวจะนำพลังงานแสงที่ได้จากดวงอาทิตย์มาเปลี่ยนสารอนินทรีย์ คือคาร์บอนไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นสารอินทรีย์ คือ น้ำตาลกลูโคส และได้ก๊าซออกซิเจนเป็นผลพลอยได้
เมื่อพืชสร้างน้ำตาลกลูโคสแล้วจะเปลี่ยนไปเป็นแห้งและเก็บสะสมไว้เมื่อต้องการนำพลังงานออกมาใช้ในกระบวนการต่าง

       ถ้าขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งก็จะมีผลทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นในการปลูกพืชไม่ว่าจะปลูกด้วยวิธีการอย่างไรจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย โดยปกติดินจะทำหน้าที่นอกจากเป็นที่ยึดเกาะของรากพืชไม่ให้โค่นล้มแล้ว ดินยังต้องมีแร่ธาตุ น้ำ ช่องว่างอากาศ ในปริมาณที่เหมาะสมด้วย พืชจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ประกอบด้วยแร่ธาตุ 45% น้ำ 25% ช่องว่างอากาศ 25% และอินทรีย์วัตถุที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซาพืชสัตว์อีก 5% รูปที่ 1 แสดงแหล่งที่มาของแร่ธาตุเมื่อปลูกพืชบนดินและปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์

        การที่รากพืชจะดูดแร่ธาตุเข้าไปใช้ได้ ธาตุจะต้องอยู่ในรูปของไอออนก่อน ไม่ว่าจะปลูกพืชด้วยวิธีใด นอกจากรูปของแร่ธาตุที่พืชจะนำไปใช้แล้ว ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน หรือสารละลายยังเป็นปัจจัยกำหนดให้ธาตุนั้นเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มกน้อยต่างกัน ดังแสดงในรูปที่ 2 โดยทั่วไปการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ สารละลายธาตุอาหารที่ให้แก่พืชควรมี pH ระหว่าง 5.5-6.5 หรือประมาณ 6 ไม่ควรเกิน 7 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชด้วย